Forklift

หลักสูตร การขับขี่รถยกอย่างถูกต้องและปลอดภัย (Forklift)

ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.2564

การฝึกอบรมผู้ขับรถยก

ตามที่ ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การฝึกอบรมลูกจ้างซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ขับรถยก มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2568

ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 2 นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ขับรถยกที่ใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องยนต์เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร ตามประเภทของรถยก

 

การฝึกอบรมโดยนายจ้าง

นายจ้างต้องแจ้งข้อมูลการฝึกอบรมให้กับพนักงานตรวจความปลอดภัยก่อนการฝึกอบรมอย่างน้อย 7 วัน โดยข้อมูลที่ต้องแจ้ง ได้แก่

  • กำหนดการและสถานที่ฝึกอบรม

  • หลักสูตรการฝึกอบรมตามประเภทของรถยก

  • รายชื่อลูกจ้างที่เข้ารับการฝึกอบรม

  • รายชื่อและคุณสมบัติของวิทยากร

***การแจ้งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ส่งเอกสารด้วยตนเอง, ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ไปยังสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่เกี่ยวข้อง.

กรณีมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการ สถานที่ หลักสูตรการฝึกอบรม รายชื่อลูกจ้างหรือวิทยากร

  • จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรที่กำหนด

  • จัดให้มีเอกสารประกอบการฝึกอบรม วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักรหรือรถยกที่ใช้ในการอบรมตามหลักสูตร

  • การทดสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องผ่านเกณฑ์การประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ทั้งนี้ ในการทดสอบภาคปฏิบัติจะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับและขั้นตอน การปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

การออกหลักฐานที่แสดงว่าผ่านการฝึกอบรม

  1. ชื่อหน่วยงานที่ออกหลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรม พร้อมระบุข้อความว่า “จัดฝึกอบรมโดยนายจ้าง” หรือ “จัดฝึกอบรมโดยนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 11 ใบอนุญาตเลขที่....
  2. ชื่อและนามสกุลของลูกจ้างหรือบุคคลที่ผ่านการฝึกอบรม
  3. ชื่อหลักสูตรที่ผ่านการฝึกอบรมโดยต้องระบุประเภทของรถยกที่จัดให้มีการฝึกอบรม
  4. สถานที่ตั้งในการฝึกอบรม
  5. วัน เดือน และปีที่เข้ารับการฝึกอบรม
  6. ลงนามโดยนายจ้างหรือนิติบุคคลได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 11 แล้วแต่กรณี

 

การจัดฝึกอบรม

ภาคทฤษฎี

การจัดฝึกอบรมภาคทฤษฎี ต้องจัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีจำนวนห้องละไม่เกิน 60 คนต่อวิทยากรอย่างน้อย 1 คน

 

ภาคปฏิบัติ

การฝึกอบรมและทดสอบภาคปฏิบัติต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อย 1 คน ต่อผู้เข้ารับ การฝึกอบรมไม่เกิน 50 คนต่อรถยก 1 คัน อุปกรณ์ที่ใช้ในการยกเคลื่อนย้ายอย่างน้อย 1 ชุด

 

***กรณีจัดฝึกอบรม ณ สถานที่อื่นซึ่งมิใช่สถานที่ทำงานของลูกจ้างหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องดำเนินการจัดให้มีรถยกที่ใช้ในการฝึกอบรมเป็นประเภทเดียวกันกับที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมใช้ในการ ปฏิบัติงาน

 

วิทยากรผู้ทำการฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

1.มีวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตครุศาสตร์ อุตสาหกรรมบัณฑิต อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตร์บัณฑิตซึ่งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับรถยกประเภทนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 1 ปีและมีประสบการณ์ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อวิชาที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 1 ปี

2.มีวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ซึ่งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับรถยกประเภทนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีประสบการณ์เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อวิชาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 3 ปี

3.เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคชั้นสูง หรือระดับวิชาชีพซึ่งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับรถยกประเภทนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีประสบการณ์ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อวิชาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 3 ปี

4.ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการซึ่งมีวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับรถยกประเภทนั้น ๆไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีประสบการณ์เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อวิชาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 5 ปี

5.เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีประสบการณ์ในหัวข้อที่บรรยายไม่น้อยกว่า 1 ปี