หลักสูตรตามกฎหมาย ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ สำหรับผู้อนุญาต

หลักสูตร ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ สำหรับผู้อนุญาต

ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ใบรับรองเลขที่ ๐๕๐๑-๐๓-๒๕๖๔-๐๐๐๒

รอบอบรม
ระยะเวลาอบรม จำนวน 1 วัน 7 ชั่วโมง

อับอากาศ สำหรับผู้อนุญาต

อับอากาศ สำหรับผู้อนุญาต

อับอากาศ สำหรับผู้อนุญาต

อับอากาศ สำหรับผู้อนุญาต

อับอากาศ สำหรับผู้อนุญาต

อับอากาศ สำหรับผู้อนุญาต

อับอากาศ สำหรับผู้อนุญาต

อับอากาศ สำหรับผู้อนุญาต

อับอากาศ สำหรับผู้อนุญาต

อับอากาศ สำหรับผู้อนุญาต

อับอากาศ สำหรับผู้อนุญาต

อับอากาศ สำหรับผู้อนุญาต

สถานที่อบรม
จัดอบรมแบบ Public-IN-HOUSE

ศูนย์ฝึกอบรมล็อกไทย - ไฮแล็ค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

ศูนย์ฝึกอบรมล็อกไทย - ไฮแล็ค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

ศูนย์ฝึกอบรมล็อกไทย - ไฮแล็ค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

ศูนย์ฝึกอบรมล็อกไทย - ไฮแล็ค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

ศูนย์ฝึกอบรมล็อกไทย - ไฮแล็ค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

ศูนย์ฝึกอบรมล็อกไทย - ไฮแล็ค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

ศูนย์ฝึกอบรมล็อกไทย - ไฮแล็ค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

ศูนย์ฝึกอบรมล็อกไทย - ไฮแล็ค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

ศูนย์ฝึกอบรมล็อกไทย - ไฮแล็ค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

ศูนย์ฝึกอบรมล็อกไทย - ไฮแล็ค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

ศูนย์ฝึกอบรมล็อกไทย - ไฮแล็ค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

ศูนย์ฝึกอบรมล็อกไทย - ไฮแล็ค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

คำอธิบายหลักสูตร

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 หมวด 1 ข้อ 4 กำหนดไว้ว่า ห้ามนายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดเข้าไปในที่อับอากาศ หากนายจ้างรู้หรือควรรู้ว่าลูกจ้างหรือบุคคลนั้นเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นซึ่งแพทย์เห็นว่า การเข้าไปในที่อับอากาศอาจเป็นอันตรายต่อบุคคลดังกล่าว และนายจ้างหรือบุคคลนั้นได้รับอนุญาตจากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตตามข้อ 17 และเป็นผู้ผ่านการอบรมตามข้อ 20” เพื่อสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการที่อยู่ในข่ายกฎหมายบังคับใช้ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ จึงเปิดให้บริการอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ได้แก่ “หลักสูตร การฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ” หมายเหตุ : ข้อ 17 ให้นายจ้างเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศ ในการนี้นายจ้างจะมอบหมายเป็นหนังสือให้ลูกจ้างซึ่งได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ตามข้อ 20 คนหนึ่งหรือหลายคนตามความจำเป็น เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตแทนก็ได้ ให้นายจ้างเก็บหนังสือมอบหมายไว้ ณ สถานประกอบกิจการพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ ข้อ 20 ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ความเข้าใจในทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัยตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนดในกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งได้เอง จะต้องให้นิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 11 เป็นผู้ดำเนินการ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. เพื่อให้นายจ้างปฏิบัติตามกฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 2. เพื่อให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานตามคำสั่งของนายจ้างได้รับการฝึกอบรมวิธีการปฏิบัติงาน ในที่อับอากาศตามมาตรฐานหลักสูตรที่กฏหมายกำหนดไว้ และเพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

กลุ่มเป้าหมาย

บุคลากรในองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามที่นายจ้างมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน

บทเฉพาะกาล

ข้อ 20 ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ หรือผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ลงวันที่ 31 มกราคม 2548 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 29 กันยายน 2549 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2551 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าผู้นั้นผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ หรือผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามประกาศนี้ ผู้ผ่านการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่ง จะต้องเข้ารับการอบรมตามข้อ 13 ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันก่อนครบกำหนดห้าปีนับแต่วันที่ผ่านการฝึกอบรมดังกล่าว เว้นแต่กรณีที่เป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งมาแล้วตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป จะต้องเข้ารับการอบรมตามข้อ 13 ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ข้อ 21 ผู้ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรการเป็นวิทยากรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานยอมรับ ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าผู้นั้นมีคุณสมบัติเป็นวิทยากรตามข้อ 16 ของประกาศนี้

เอกสารประกอบก่อนเข้ารับการฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

1. สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง 2. สำเนาใบรับรองแพทย์ในการทำงานในที่อับอากาศ 3. สำเนาวุฒิบัตรการดับเพลิงขั้นต้น

กำหนดการอบรม

บริษัท ล็อกไทย-ไฮแล็คเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด logthai hai leck training center ศูนย์ฝึกอบรมล็อกไทย * พัก-รับประทานอาหารว่างเวลา 10.30–10.45 น. และเวลา 14.45–15.00 น. * พัก-รับประทานอาหารกลางวันเวลา 12.15 -13.15 น.

วันที่ 1
ระยะเวลาอบรม จำนวน 1 วัน 7 ชั่วโมง

เวลา 08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน ทำแบบทดสอบ Pre-Test

ภาคทฤษฏี

(ก)กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

(ข)ความหมาย/ชนิด/ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ

(ค)การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย และการประเมินสภาพพื้นที่และงานและการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ

(ง)วิธีการปฎิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย

(จ)การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศและอุปกรณ์ช่วยเหลือช่วยชีวิต

(ฉ)ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการตัดแยกพลังงานดพื่อความปลอดภัย

(ช)บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและ ผู้ปฎิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฎิบัติงานในที่อับอากาศ

ภาคปฏิบัติ

(ก)เทคนิคการตรวจสภาพพื้นที่และงาน ก่อนตัดสินใจอนุญาต

(ข)เทคนิคในการควบคุมการทำงานในที่อับอากาศ